วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

รถ 1 คันที่ซื้อ..เราจ่ายภาษีกันเท่าไร ?

...

รถ 1 คันที่ซื้อ...เราจ่ายภาษีกันเท่าไร ?

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์


โครงสร้างการคิดภาษีรถยนต์ในประเทศไทย จะแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 รถนำเข้าสำเร็จรูปจากต่างประเทศ

การ คิดภาษีสำหรับรถนำเข้านั้น จะคิดจากราคา CIF (Cost+Insurance+Freight) ซึ่งก็คือ ราคาขายของรถบวกด้วยค่าอากร ค่าประกันภัย และค่าขนส่งจากต่างประเทศ มาถึงที่ท่าเรือที่ประเทศไทย ราคา CIF นี้จะถูกระบุไว้ในเอกสารการนำเข้า ในที่นี้สมมติให้ราคา CIF เท่ากับ 100 บาท ภาษีที่ต้องจ่ายจะประกอบไปด้วย

1.อากรขาเข้า ภาษีแรกที่ผู้นำเข้าต้องจ่าย ณ ท่าเรือก่อนนำรถออกจากท่าเรือเข้ามาในประเทศ ในอัตรา 80% ของราคา CIF ซึ่งเท่ากับ 80 บาท

2.ภาษี สรรพสามิต ซึ่งกรมศุลกากรจะเก็บภาษีนี้พร้อมกับอากรขาเข้า ภาษีสรรพสามิตนี้จะถูกเก็บในอัตราต่างกันตั้งแต่ 30-50% ขึ้นอยู่กับความจุกระบอกสูบ หรือขนาดเครื่องยนต์ เช่น รถยนต์ขนาดไม่เกิน 2,000 ซีซี ที่ถูกจัดเก็บในอัตรา 30% ของราคา CIF รวมกับภาษีอากรขาเข้า โดยใช้สูตรการคำนวณการจัดเก็บ ที่เรียกว่า "ฝังใน"

คือ = {(100+80)x30%} 1-(1.1x30%)

3.ภาษี มหาดไทย ชื่อภาษีมีที่มาจากภาษีที่เก็บได้นี้ถูกนำไปบริหารประเทศโดยกระทรวงมหาดไทย ซึ่งภาษีมหาดไทยจะคิดที่อัตรา 10% ของภาษีสรรพสามิต เพื่อส่งให้กระทรวงมหาดไทย

4.ภาษีมูลค่าเพิ่ม ในอัตรา 7% ของราคา CIF+อากรขาเข้า+ภาษีสรรพสามิต+ภาษีมหาดไทย

ซึ่ง เมื่อรวมภาษีทั้ง 4 ชนิดเข้าด้วยกันแล้ว จากราคารถสมมติที่ 100 บาท จะกลายเป็น 287.5-428.0 บาท (ขึ้นอยู่กับความจุกระบอกสูบ) ซึ่งมูลค่าดังกล่าวนี้ยังไม่รวมอัตรากำไร และค่าดำเนินการอื่น ๆ ของบริษัทผู้จำหน่าย ฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เราจะเห็นรถราคา 1 ล้านในเมืองนอกมาขายที่บ้านเราในราคา 3-4 ล้านบาท เพราะภาระภาษีมันสูงเช่นนี้นี่เอง

กรณีที่ 2 รถที่ผลิตในประเทศไทย

ผู้ ผลิตจะนำชิ้นส่วนรถยนต์เข้ามาจากต่างประเทศเป็นบางรายการ
1.อากรขาเข้า จะถูกจัดเก็บตามอัตราที่กรมศุลกากรกำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดหรือพิกัดของชิ้นส่วนนั้น ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 30% ของราคา CIF ถ้าใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศทั้งหมดก็จะไม่เสียภาษีในส่วนนี้

2.ภาษี สรรพสามิต (อันนี้นี่แหละที่เขาจะคืนให้สำหรับรถคันแรก) จะถูกจัดเก็บอัตราเดียวกับการนำเข้ารถทั้งคันจากต่างประเทศ โดยคำนวณจากราคาหน้าโรงงาน และกรมสรรพสามิตจะพิจารณารับราคาหน้าโรงงานนี้ไม่ต่ำกว่า 76% ของราคาขายปลีกที่ขายให้กับผู้บริโภค คือ ถ้าราคาขายปลีกอยู่ที่ 100 บาท (รถยนต์ไม่เกิน 2,000 ซีซี) ก็จะใช้ราคาหน้าโรงงานที่ 76 บาทมาคำนวณตามสูตร "ฝังใน" เพื่อให้ได้ภาษีสรรพสามิต

3.ภาษีมหาดไทย คิดที่อัตรา 10% ของภาษีสรรพสามิต เพื่อส่งให้กระทรวงมหาดไทย

4.ภาษี มูลค่าเพิ่ม 7% กรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บ เหมือนกรณีที่ 1 สมมติให้รถขนาดไม่เกิน 2,000 ซีซี ราคารถหน้าโรงงานอยู่ที่ 100 บาท ภาษีสรรพสามิตก็จะอยู่ที่ 80.60 บาท บวกด้วยภาษีมหาดไทย 8.1 บาท และภาษีมูลค่าเพิ่ม 13.2 บาท ก็จะได้ราคาขายปลีกเท่ากับ 201.9 บาท หรือถ้าคิดในมุมกลับภาษีรวมของรถที่ผลิตในประเทศจะมีมูลค่าประมาณ 40-70% ของราคาขายปลีก ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องยนต์ ยิ่งปริมาตรกระบอกสูบมาก มูลค่าภาษีก็จะสูงตาม

ตัวอย่างเช่น ถ้าซื้อรถที่ผลิตในประเทศ เครื่องยนต์ 1,800 ซีซี ในราคา 7 แสนบาท หมายความว่า เราได้จ่ายภาษีให้รัฐประมาณ 2.8-3 แสนบาท

ในขณะที่ภาษีรวมของรถนำเข้าจะคิดจากราคาขายปลีกไม่ได้ เพราะยังไม่ได้รวมกำไรและค่าดำเนินการของผู้นำเข้า ฉะนั้นต้องคิดจากราคาทุน ซึ่งจะมีมูลค่าภาษีอยู่ที่ประมาณ 200-300% ของราคาต้นทุน

สรุปให้เห็น ง่าย ๆ ก็คือ 
รยนต์ 1 คัน จะต้องเสียภาษี
1. ชิ้นส่วนอะหลั่ย ที่นำเข้าจากต่างประเทศ
2. ภาษีสรรพสามิต ของรถทั้งคัน ไม่ต่ำกว่า 76 % ของราคาขาย
3. ภาษีมหาดไทย คิดที่อัตรา 10% ของภาษีสรรพสามิต
4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือVAT. 7 %


รัฐ คืนให้เฉพาะ ภาษีสรรพสามิต ที่ผู้ซื้อจ่าย ไปก่อนแล้วขณะที่ซื้อ
และจะได้รับคืน หลังจากจดทะเบียนและครอบครองรถ ไปแล้ว 1 ปี
โดยมีเงื่อนไข ห้ามโอนก่อน 5 ปี
คืนภาษีสรรพสามิต ตามจำนวนผู้ซื้อ 
ผู้ซื้อจำนวนมาก  ก็ต้องจ่ายคืนมาก
ผู้ซื้อจำนวนน้อย  ก็จ่ายคืนน้อย
ไม่มีผู้ซื้อ รัฐไม่ต้องจ่ายคืน  แต่จะขาดรายได้ ภาษีตัวอื่น
รัฐไม่ต้องชักเนื้ออะไร ? เพราะเป็นเงินของผู้ซื้อ ที่คืนให้ 
แถมยังได้ดอกเบี้ย อีก 1 ปี เข้ารัฐ ก่อนจ่ายคืน

นโยบายรัฐบาล คืนภาษีรถยนต์ใหม่คันแรก เป็นนโยบายที่ประสพความสำเร็จดียิ่ง
มีจุดประสงค์ใหญ่ก็คือ กระตุ้นเศรฐษกิจในด้านอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมรถยนต์  ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมา  ซึ่งสร้างความเสียหายอย่างมากและทำท่าจะซบเซาลง  เพราะ แรก ๆ ได้ข่าวว่าจะย้ายฐานไปที่อื่นกันและก็ได้ผล ค่ายรถยนต์ต่าง ๆ หลายค่าย เพิ่มการลงทุน ย้ายฐานการผลิตมาที่ไทยมีการจ้างงานเพิ่มขื้น   คนงานมีรายได้เพิ่มขึ้น  รวมทั้งธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกัน ไม่ว่าชิ้นส่วนอะหลั่ยต่าง ๆ ที่ผลิตในประเทศ  อุปกรณ์ตบแต่งรถ รวมทั้งเครื่องหนัง พลาสติก เบาะรถยนต์ เป็นต้น ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจ ก่อสร้างก็ได้รับผลดีไปด้วย และเศรฐกิจโดยรวมก็ย่อมได้รับผลดีไปด้วย เมื่อประชาชนมีรายได้ดี ก็ย่อมมีการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น และรัฐก็จัดเก็บภาษีได้

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อัตราค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงของไทย


...
 ไทรัฐ  26 ส.ค. 55

ประเทศไทยกำลังจะมี 'ม้าเหล็ก' ความเร็วสูงใช้
กระทรวงคมนาคมเตรียมเร่งรัดก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 5 เส้นทาง ประกอบด้วย 
กรุงเทพฯ-เชียงใหม่,
กรุงเทพฯ-อุบลราชธานี,
กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย
กรุงเทพฯ-หัวหิน-ปาดังเบซาร์ และ
กรุงเทพฯ-ระยอง 

สายเหนือ
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-นครสวรรค์ (หนองปลิง)
เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 12 นาที ค่าโดยสาร 384 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-พิษณุโลก
เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 54 นาที 36 วินาที ค่าโดยสาร 611 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-เด่นชัย เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 38 นาที ค่าโดยสาร 845 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-เชียงใหม่ เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 43 นาที 48 วินาที ค่าโดยสาร 1,190 บาท

สายตะวันออกเฉียงเหนือ:
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-นครราชสีมา เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 16 นาที ค่าโดยสาร 410 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-ขอนแก่น เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 13 นาที ค่าโดยสาร 709 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-หนองคาย เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 4 นาที ค่าโดยสาร 984 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-สุรินทร์ เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 3 นาที ค่าโดยสาร 661 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-อุบลราชธานี เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 51 นาที ค่าโดยสาร 912 บาท

สายใต้: 
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-หิวหิน เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 6 นาที ค่าโดยสาร 360 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-แม่กลอง-หิวหิน เวลาเดินทาง 0 ชั่วโมง 55 นาที  ค่าโดยสาร 295 บาท 
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-สุราษฎร์ธานี เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 14 นาที ค่าโดยสาร 1,037 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-หาดใหญ่ เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 41 นาที ค่าโดยสาร 1,499 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางบางซื่อ)-ปาดังเบซาร์ เวลาเดินทาง 4 ชั่วโมง 54 นาที ค่าโดยสาร 1,571 บา

สายตะวันออก: 
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน)-ฉะเชิงเทรา-ระยอง เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 6 นาที ค่าโดยสาร 350 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน)-บางปะกง-ระยอง เวลาเดินทาง 0 ชั่วโมง 58 นาทีี ค่าโดยสาร 305 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน)-ฉะเชิงเทรา-จันทร์บุรี เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 39 นาที ค่าโดยสาร 530 บาท
กรุงเทพ (สถานีกลางมักกะสัน)-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 15 นาที ค่าโดยสาร 400 บาท